รักษาความปลอดภัยอำเภอนครชัยศรี

บริษัท รักษาความปลอดภัย กรองทอง เซฟตี้โซน จำกัด
KRONGTHONG SAFETY ZONE SECURITY GUARD CO., LTD.


มืออาชีพทางด้านการบริหารงานรักษาความปลอดภัย ด้วยบุคลากรที่ผ่านการฝึกอบรม ทุกหลักสูตรมาตรฐานให้มีพร้อมในการดูแลชีวิตและทรัพย์สินของลูกค้า อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตลอดจนถึงการพัฒนาระบบและอุปกรณ์ ให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้วันนี้ได้รับความไว้วางใจสูงสุดทั้งจากลูกค้าภาครัฐและลูกค้าภาคเอกชนมากกว่าหน่วยงานที่สำคัญมีจำนวนพนักงาน รปภ.ที่เติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่อง

ประวัติความเป็นมา : Our History

ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ พัฒนาและยกระดับอาชีพรักษาความปลอดภัย ให้มีมาตรฐาน สร้างความเชื่อมั่นและความอุ่นใจให้ผู้ใช้บริการจากประสบการณ์มากกว่า 30 ปี


จึงทำให้เรามีความพร้อมเป็นมืออาชีพ มีประสบการณ์ด้วยทีมงานที่มีคุณภาพ
ผ่านการปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยทุกประเภท อาทิเช่น สนามบิน ทางด่วน สถาบันการเงิน โรงแรม โรงพยาบาล
สถานศึกษา สถานที่ราชการ ห้างสรรพสินค้า หมู่บ้านจัดสรร คอนโด โรงงานอุตสาหกรรม บริษัทห้างร้าน ตึก อาคาร สถานที่ทั่วไปต่างๆ เป็นต้น

รักษาความปลอดภัย

ให้บริการพนักงานรักษาความปลอดภัยในอาคาร สถานที่ และทรัพย์สิน

อารักขา

ให้บริการอารักขาบุคคลสำคัญ (VIP)

ฝึกอบรม

การฝึกอบรมหลักสูตรความปลอดภัยเบื้องต้น ตามพระราชบัญญัติธุรกิจความปลอดภัย พ.ศ. 2558

ติดตั้งอุปกรณ์

จัดระบบติดตั้งอุปกรณ์เทคโนโลยีด้านรักษาความปลอดภัย ที่ทันสมัยทุกชนิด

สอบถามรายละเอียด

นครชัยศรี เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครปฐม

สถานีรถไฟนครชัยศรี เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ได้ดำเนินการก่อสร้างและเปิดให้บริการประชาชนที่ใช้บริการของการรถไฟแห่งประเทศไทย มานานกว่า 100 ปี ปัจจุบันมีการอนุรักษ์อาคารอยู่ในสภาพที่ดีมาก
วัดกลางบางแก้ว เดิมชื่อว่าวัดคงคาราม คนทั่วไปแถบบริเวณนครชัยศรีนี้ มักเรียกว่า วัดกลาง เป็นวัดโบราณเก่าแก่สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาหรือตอนปลายของยุคอู่ทอง

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอนครชัยศรีมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอดอนตูมและอำเภอบางเลน
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพุทธมณฑลและอำเภอสามพราน
  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสามพราน
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองนครปฐม

ประวัติ

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พื้นที่อำเภอนครชัยศรีเคยเป็นที่ตั้งเมืองนครชัยศรี ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ (พ.ศ. 2091-2111) โปรดให้สร้างเมืองใหม่ แขวงเมืองราชบุรีจึงถูกแบ่งพื้นที่บางส่วนรวมกับพื้นที่บางส่วนของแขวงเมืองสุพรรณบุรี ตั้งเป็นเมืองนครชัยศรี เพื่อรองรับพลเมืองไทยที่หนีสงครามระหว่างไทยกับพม่าที่เริ่มมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช (พ.ศ. 2077-2089) ไปอยู่ตามป่าเขา ให้กลับเข้ามาเป็นกำลังของพระนครยามมีศึก มีตัวเมืองอยู่ใต้ปากคลองบางแก้ว (ห่างจากตัวอำเภอปัจจุบันประมาณ 2 กิโลเมตร) เดิมนั้นสังกัดกรมมหาดไทย ภายหลังได้โอนไปสังกัดกรมท่า

เมืองนครชัยศรีมีความสำคัญมากในยุคนั้น ดังจะเห็นได้จากมีการขุดคลองมหาสวัสดิ์ทะลุจากแม่น้ำเจ้าพระยามายังแม่น้ำนครชัยศรี และขุดคลองเจดีย์บูชา เพื่อให้สามารถเดินทางจากกรุงเทพฯไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ที่เมืองนครปฐมเมื่อครั้งยังเป็นมณฑลนครชัยศรี นอกจากนี้ยังมีการก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ไปถึงจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งแล้วเสร็จในสมัยรัชการที่ 6 โดยในเขตอำเภอนครชัยศรี มีสถานีรถไฟถึง 3 สถานี คือ สถานีรถไฟวัดงิ้วราย สถานีรถไฟนครชัยศรี (บ้านเขมร) และสถานีรถไฟท่าแฉลบ ไม่นับรวมสถานีรถไฟคลองมหาสวัสดิ์ สถานีรถไฟวัดสุวรรณ และสถานีรถไฟศาลายา ในเขตอำเภอพุทธมณฑล ซึ่งแยกออกไปจากอำเภอนครชัยศรี เมื่อปี พ.ศ. 2534

ครั้นเมื่อมีการปรับปรุงการปกครองใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2437 ในรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการจัดตั้งกระทรวงมหาดไทยขึ้น และจัดรูปการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล เมืองนครชัยศรีได้โอนไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย และตั้งมณฑลขึ้นโดยรวมเมืองนครชัยศรี เมืองสมุทรสาคร และเมืองสุพรรณบุรีไว้ในมณฑลเดียวกัน เรียกว่า มณฑลนครชัยศรี (เดิมเขียนเป็น มณฑลนครไชยศรี) มีที่ตั้งอยู่ ณ เมืองนครชัยศรี ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ยุบมณฑลนครชัยศรีลง เมืองนครชัยศรีเดิมถูกเปลี่ยนเป็นอำเภอนครชัยศรี ขึ้นอยู่กับจังหวัดนครปฐม

  • วันที่ 23 พฤศจิกายน 2456 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมืองนครไชยศรี เป็น อำเภอนครไชยศรี
  • วันที่ 16 มกราคม 2458 รวมท้องที่มณฑลนครไชยศรี และมณฑลราชบุรี เรียกว่า มณฑลภาคตะวันตก
  • วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2474 ยุบเลิกมณฑลนครไชยศรี และรวมเมืองนครไชยศรี เมืองสุพรรณบุรี และเมืองสมุทรสาคร รวมเข้ากับมณฑลราชบุรี
  • วันที่ 25 กันยายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลท่ามอญ อำเภอนครชัยศรี เป็น ตำบลขุนแก้ว
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลวัดแค แยกออกจากตำบลนครชัยศรี และตำบลสัมปทวน ตั้งตำบลท่าเรือ แยกออกจากตำบลนครชัยศรี ตั้งตำบลวัดสำโรง แยกออกจากตำบลสัมปทวน ตั้งตำบลดอนแฝก แยกออกจากตำบลห้วยพลู ตั้งตำบลบางแก้วฟ้า แยกออกจากตำบลห้วยพลู และตำบลบางพระ ตั้งตำบลวัดละมุด แยกออกจากตำบลบางพระ ตั้งตำบลศรีมหาโพธิ์ แยกออกจากตำบลสัมปทวน ตั้งตำบลแหลมบัว แยกออกจากตำบลสัมปทวน ตั้งตำบลท่าพระยา แยกออกจากตำบลศีรษะทอง ตั้งตำบลพะเนียด แยกออกจากตำบลศีรษะทอง ตั้งตำบลโคกพระเจดีย์ แยกออกจากตำบลบางระกำ ตั้งตำบลท่ากระชับ แยกออกจากตำบลบางแก้ว ตั้งตำบลท่าตำหนัก แยกออกจากตำบลบางแก้ว ตั้งตำบลบางกระเบา แยกออกจากตำบลนครชัยศรี ตั้งตำบลขุนแก้ว แยกออกจากตำบลนครชัยศรี ตั้งตำบลไทยาวาส แยกออกจากตำบลนครชัยศรี ตั้งตำบลมหาสวัสดิ์ แยกออกจากตำบลงิ้วราย ตั้งตำบลคลองโยง แยกออกจากตำบลศาลายา และตำบลห้วยพลู
  • วันที่ 3 สิงหาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลนครชัยศรี ในท้องที่หมู่ 1–2 ตำบลนครชัยศรี หมู่ 2–3 ตำบลบางกระเบา หมู่ 2–3 ตำบลท่าตำหนัก และหมู่ 1–2 ตำบลวัดแค
  • วันที่ 16 ตุลาคม 2505 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลนครชัยศรี เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น[7] โดยให้เขตสุขาภิบาลนครชัยศรีครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของตำบลนครชัยศรี ตำบลศาลายา ตำบลคลองโยง ตำบลมหาสวัสดิ์ ตำบลบางกระเบา ตำบลวัดแค ตำบลท่าตำหนัก ตำบลบางแก้ว ตำบลท่ากระชับ ตำบลขุนแก้ว ตำบลท่าพระยา ตำบลพะเนียด ตำบลบางระกำ ตำบลโคกพระเจดีย์ ตำบลศีรษะทอง ตำบลแหลมบัว ตำบลศรีมหาโพธิ์ ตำบลสัมปทวน ตำบลวัดสำโรง ตำบลดอนแฝก ตำบลห้วยพลู ตำบลวัดละมุด ตำบลบางพระ ตำบลบางแก้วฟ้า ตำบลท่าเรือ ตำบลงิ้วราย และตำบลไทยาวาส
  • วันที่ 29 ตุลาคม 2511 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี เป็น ตำบลลานตากฟ้า และเปลี่ยนแปลงชื่อตำบลท่าเรือ อำเภอนครชัยศรี เป็น ตำบลงิ้วราย
  • วันที่ 12 ตุลาคม 2519 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลนครชัยศรี เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น[9] โดยปรับขนาดลงให้ครอบคลุมท้องที่หมู่ 1–2 ตำบลนครชัยศรี หมู่ 2–3 ตำบลบางกระเบา หมู่ 2–3 ตำบลท่าตำหนัก หมู่ที่ 1 ตำบลบางแก้ว และหมู่ 1–2 ตำบลวัดแค
  • วันที่ 30 ตุลาคม 2522 จัดตั้งสุขาภิบาลห้วยพลู ในท้องที่บางส่วนตำบลห้วยพลู
  • วันที่ 31 ธันวาคม 2526 โอนพื้นที่หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 6 (ในขณะนั้น) เฉพาะเขตพื้นที่ที่พุทธมณฑลตั้งอยู่ ของตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน มาขึ้นกับตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี
  • วันที่ 31 มกราคม 2534 แยกพื้นที่ตำบลศาลายา ตำบลคลองโยง และตำบลมหาสวัสดิ์ ของอำเภอนครชัยศรี ไปจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอพุทธมณฑล และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอนครชัยศรี
  • วันที่ 22 เมษายน 2535 จัดตั้งสุขาภิบาลศาลายา ในท้องที่หมู่ 3–6 ของตำบลศาลายา
  • วันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอพุทธมณฑล อำเภอนครชัยศรี เป็น อำเภอพุทธมณฑล
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลนครชัยศรี และสุขาภิบาลห้วยพลู เป็นเทศบาลตำบลนครชัยศรี และเทศบาลตำบลห้วยพลู ตามลำดับ[15] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 31 มกราคม 2556 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขุนแก้ว เป็น เทศบาลตำบลขุนแก้ว
  • วันที่ 17 เมษายน 2563 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลศีรษะทอง เป็น เทศบาลตำบลศีรษะทอง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *