รักษาความปลอดภัยอำเภอเมืองนครปฐม

บริษัท รักษาความปลอดภัย กรองทอง เซฟตี้โซน จำกัด
KRONGTHONG SAFETY ZONE SECURITY GUARD CO., LTD.


มืออาชีพทางด้านการบริหารงานรักษาความปลอดภัย ด้วยบุคลากรที่ผ่านการฝึกอบรม ทุกหลักสูตรมาตรฐานให้มีพร้อมในการดูแลชีวิตและทรัพย์สินของลูกค้า อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตลอดจนถึงการพัฒนาระบบและอุปกรณ์ ให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้วันนี้ได้รับความไว้วางใจสูงสุดทั้งจากลูกค้าภาครัฐและลูกค้าภาคเอกชนมากกว่าหน่วยงานที่สำคัญมีจำนวนพนักงาน รปภ.ที่เติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่อง

ประวัติความเป็นมา : Our History

ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ พัฒนาและยกระดับอาชีพรักษาความปลอดภัย ให้มีมาตรฐาน สร้างความเชื่อมั่นและความอุ่นใจให้ผู้ใช้บริการจากประสบการณ์มากกว่า 30 ปี


จึงทำให้เรามีความพร้อมเป็นมืออาชีพ มีประสบการณ์ด้วยทีมงานที่มีคุณภาพ
ผ่านการปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยทุกประเภท อาทิเช่น สนามบิน ทางด่วน สถาบันการเงิน โรงแรม โรงพยาบาล
สถานศึกษา สถานที่ราชการ ห้างสรรพสินค้า หมู่บ้านจัดสรร คอนโด โรงงานอุตสาหกรรม บริษัทห้างร้าน ตึก อาคาร สถานที่ทั่วไปต่างๆ เป็นต้น

รักษาความปลอดภัย

ให้บริการพนักงานรักษาความปลอดภัยในอาคาร สถานที่ และทรัพย์สิน

อารักขา

ให้บริการอารักขาบุคคลสำคัญ (VIP)

ฝึกอบรม

การฝึกอบรมหลักสูตรความปลอดภัยเบื้องต้น ตามพระราชบัญญัติธุรกิจความปลอดภัย พ.ศ. 2558

ติดตั้งอุปกรณ์

จัดระบบติดตั้งอุปกรณ์เทคโนโลยีด้านรักษาความปลอดภัย ที่ทันสมัยทุกชนิด

สอบถามรายละเอียด

อำเภอเมืองนครปฐม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครปฐม

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอเมืองนครปฐมมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอกำแพงแสนและอำเภอดอนตูม
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอนครชัยศรี
  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสามพราน และอำเภอบางแพ (จังหวัดราชบุรี)
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอโพธารามและอำเภอบ้านโป่ง (จังหวัดราชบุรี)

ประวัติ

นครปฐมเป็นพื้นที่อู่อารยธรรมสำคัญที่มีประวัติความเป็นมายาวนานในแผ่นดินสุวรรณภูมิ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า เมืองนครปฐมแต่เดิมนั้นตั้งอยู่ริมทะเล เป็นเมืองเก่าแก่ มีความเจริญรุ่งเรืองมานับตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ และเป็นราชธานีสำคัญในสมัยทวารวดี ในยุคนั้นนครปฐมเป็นแหล่งเผยแพร่อารยธรรมจากประเทศอินเดีย ซึ่งรวมทั้งพุทธศาสนา จึงเป็นศูนย์กลางของความเจริญ มีชนชาติต่างๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมาก

ต่อมาได้เกิดความแห้งแล้งขึ้นในเมืองนครปฐม เพราะกระแสน้ำที่ไหลผ่านตัวเมืองเปลี่ยนเส้นทาง ประชาชนจึงอพยพไปตั้งหลักแหล่งอยู่ริมน้ำ และสร้างเมืองใหม่ขึ้นชื่อ “เมืองนครไชยศรี” หรือ “ศรีวิชัย” นครปฐมจึงกลายเป็นเมืองร้างมาเป็นเวลาหลายร้อยปี จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงยังผนวชได้ธุดงค์ไปพบพระปฐมเจดีย์ และทรงเห็นว่าเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ไม่มีที่ใดเทียบเท่า ครั้นเมื่อได้ครองราชย์ จึงโปรดฯ ให้ก่อเจดีย์แบบลังกาครอบองค์เดิมไว้ โดยให้ชื่อว่า “พระปฐมเจดีย์” ทรงปฏิสังขรณ์สิ่งต่างๆ ในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ให้มีสภาพดี และโปรดฯ ให้ขุดคลองเจดีย์บูชาเพื่อให้การเสด็จมานมัสการสะดวกขึ้น

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ผ่านเมืองนครปฐม ซึ่งขณะนั้นยังเป็นป่ารก พระองค์จึงโปรดฯ ให้ย้ายเมืองจากตำบลท่านา อำเภอเมืองนครไชยศรี มาตั้งที่องค์พระปฐมเจดีย์เหมือนเช่นครั้งสมัยโบราณ และเปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอพระปฐมเจดีย์ ให้เป็น อำเภอเมืองนครปฐม[1] เนื่องจากเป็นเมืองศูนย์กลางของจังหวัดนครปฐม และลดฐานะอำเภอเมืองนครไชยศรี ลงเป็นอำเภอนครไชยศรี จนปัจจุบัน

  • วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2454 ใช้พระราชบัญญัติสุขาภิบาลในตำบลนครปฐม ตำบลพระปฐม ตำบลห้วยจรเข้ ตำบลบ่อพลับ ตำบลสนามจันทร์ อำเภอพระปฐมเจดีย์ มณฑลนครไชยศรี[2] เป็น สุขาภิบาลเมืองนครปฐม
  • วันที่ 23 พฤศจิกายน 2456 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอพระปฐมเจดีย์ เป็น อำเภอเมืองนครปฐม[3]
  • วันที่ 23 พฤษภาคม 2469 โอนพื้นที่ตำบลหนองดินแดง และตำบลวังเย็น ของอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี มาขึ้นกับอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม[4]
  • วันที่ 10 ธันวาคม 2478 จัดตั้งสุขาภิบาลเมืองนครปฐม ขึ้นเป็น เทศบาลเมืองนครปฐม[5]
  • วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2486 โอนพื้นที่ตำบลสระกะเทียม กับพื้นที่หมู่ 3,6–7,9–14 (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านยาง และพื้นที่หมู่ 6–7,10–11 (ในขณะนั้น) ซึ่งอยู่เหนือคลองยางหรือคลองบางตาล ของตำบลหนองกบ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี มาขึ้นกับอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม โดยให้ถือคลองยางหรือคลองบางตาล ตั้งแต่บ้านปลายน้ำติดต่อเขตตำบลปากแรต อำเภอบ้านโป่ง ถึงบ้านคลองขุดจรดเขตตำบลหนองดินแดง อำเภอเมืองนครปฐม เป็นเส้นแบ่งเขต[6]
  • วันที่ 4 มีนาคม 2490 โอนพื้นที่หมู่ 10 บ้านตากแดด (ในขณะนั้น) ของตำบลบางแขม ไปตั้งเป็นหมู่ 15 บ้านตากแดด ของตำบลดอนยายหอม[7]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลถนนขาด แยกออกจากตำบลดอนยายหอม ตั้งตำบลมาบแค แยกออกจากตำบลตาก้อง ตั้งตำบลบ่อพลับ แยกออกจากตำบลนครปฐม ตั้งตำบลวังเย็น แยกออกจากตำบลหนองดินแดง ตั้งตำบลลำพยา แยกออกจากตำบลโพรงมะเดื่อ ตั้งตำบลธรรมศาลา แยกออกจากตำบลพระประโทน ตั้งตำบลหนองปากโลง แยกออกจากตำบลวังตะกู ตั้งตำบลห้วยจรเข้ แยกออกจากตำบลสนามจันทร์ ตั้งตำบลทุ่งน้อย แยกออกจากตำบลสามควายเผือก ตั้งตำบลสวนป่าน แยกออกจากตำบลสระกะเทียม[8]
  • วันที่ 9 ธันวาคม 2490 โอนพื้นที่หมู่ 8,12,9,11,13,10 (ในขณะนั้น) ของตำบลพระประโทน ไปตั้งเป็นหมู่ 1–6 ของตำบลธรรมศาลา ตามลำดับ และโอนพื้นที่หมู่ 1,7,6,2,5,3,4 (ในขณะนั้น) ของตำบลธรรมศาลา ไปตั้งเป็นหมู่ 1–7 ของตำบลพระประโทน ตามลำดับ[9]
  • วันที่ 16 ธันวาคม 2501 ตั้งตำบลหนองงูเหลือม แยกออกจากตำบลทัพหลวง[10]
  • วันที่ 16 เมษายน 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลธรรมศาลา ในท้องที่บางส่วนของตำบลธรรมศาลา[11]
  • วันที่ 10 สิงหาคม 2508 จัดตั้งสุขาภิบาลโพรงมะเดื่อ ในท้องที่บางส่วนของตำบลโพรงมะเดื่อและบางส่วนของตำบลหนองดินแดง[12]
  • วันที่ 14 พฤศจิกายน 2515 จัดตั้งสุขาภิบาลดอนยายหอม ในท้องที่บางส่วนของตำบลดอนยายหอม[13]
  • วันที่ 13 ตุลาคม 2524 โอนพื้นที่หมู่ที่ 10 บ้านหนองแก (ในขณะนั้น) ของตำบลโพรงมะเดื่อ ไปตั้งเป็นหมู่ 8 ของตำบลหนองงูเหลือม[14]
  • วันที่ 4 ธันวาคม 2534 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครปฐมให้ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางแขม ตำบลพระประโทน ตำบลสนามจันทร์ ตำบลบ่อพลับ ตำบลนครปฐม ตำบลหนองปากโลง ตำบลลำพยา และตำบลห้วยจรเข้[15]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลธรรมศาลา สุขาภิบาลโพรงมะเดื่อ และสุขาภิบาลดอนยายหอม เป็นเทศบาลตำบลธรรมศาลา เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ และเทศบาลตำบลดอนยายหอม ตามลำดับ[16] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 10 พฤศจิกายน 2542 ยกฐานะจากเทศบาลเมืองนครปฐม เป็น เทศบาลนครนครปฐม[17]
  • วันที่ 1 มิถุนายน 2555 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อพลับ เป็น เทศบาลตำบลบ่อพลับ[18]
  • วันที่ 31 สิงหาคม 2555 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลมาบแค เป็น เทศบาลตำบลมาบแค[19]
  • วันที่ 1 มิถุนายน 2556 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลนครปฐม เป็น เทศบาลเมืองนครปฐม[20]
  • วันที่ 23 กันยายน 2562 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลสามควายเผือก เป็น เทศบาลเมืองสามควายเผือก[21]
  • วันที่ 11 มิถุนายน 2563 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลตาก้อง เป็น เทศบาลตำบลตาก้อง[22]

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *